ดู: 7351|ตอบกลับ: 0
สั่งพิมพ์ ก่อนหน้า ถัดไป

ประเพณีงานบุญประจำปี

[คัดลอกลิงก์]
ไม่ระบุชื่อ
กรอกหมายเลขโพสต์ ที่ต้องการจะข้ามไปดูในแต่ละโพสต์
คัดลอกลิงก์
ไม่ระบุชื่อ  โพสต์ 2013-8-25 18:25:38 รางวัลสำหรับการตอบกลับ |โพสต์ใหม่ขึ้นก่อน |โหมดอ่าน
ประเพณีงานบุญที่ปฏิบัติกันทุกปี ได้แก่
          - ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่
          - ประเพณีบุญข้าวจี่
          - ประเพณีบุญแจกข้าว
          - ประเพณีสงกรานต์
          - ประเพณีบุญบั้งไฟ
          - ประเพณีบุญเข้าพรรษา
          - ประเพณีบุญลอยกระทง
          - ประเพณีบุญออกพรรษา
          - ประเพณีบุญกฐิน
          - ประเพณีบุญส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่





ประเพณี“บุญกุ้มข้าวใหญ่”   
โดย...คุณคมคาย   จินโจ
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม

        “บุญกุ้มข้าวใหญ่”หรือบุญคุณลานนั้นเป็นบุญประเพณีของชาวอีสานที่แสดงให้เห็นจิตวิญญาณของชุมชนที่ดำรงอยู่ด้วยวิถีเกษตรกรรมมาช้านาน ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดินด้วยสำนึกในบุญคุณของข้าวที่หล่อเลี้ยงชีวิตคนทุกคน นอกจากนี้เป็นการแสดงออกถึงพลังแห่งความร่วมแรงร่วมใจของชุมชนเพื่อสืบทอดจิตวิญญาณที่กล้าแกร่งของชาวนามีการทำพิธีพราหมณ์บายศรีสู่ขวัญข้าวทุกปี เพราะชาวอีสานเชื่อว่า แม่พระโพสพมีอำนาจที่สามารถดลบันดาลให้ข้าวเจริญงอกงามนำความอุดมสมบูรณ์มาให้ชาวนาที่บูชาเทวีแห่งข้าว ด้วยเหตุนี้ชาวนาจึงมีพิธีบูชาแม่พระโพสพก่อนที่จะลงมือทำนาหรือระหว่างตกกล้าจนข้าวตั้งท้องออกรวง ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวในที่สุด การทำพิธีบูชาแม่พระโพสพนั้นในสมัยต่อมานิยมทำกันเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วโดยนำข้าวมากองไว้กลางลานนวดแล้วทำพิธีบายศรีข้าวหรือเมื่อนวดข้าวเสร็จจะได้ข้าวเปลือกกองใหญ่กลางลานนวดชาวอีสานเรียกกองข้าวเปลือกใหญ่ว่า กุ้มข้าวใหญ่ และจะทำพิธีทางพราหมณ์ตามประเพณีปฏิบัติของบรรพชนเรียกว่า“พิธีรับขวัญข้าวเพราะถือคติความเชื่อว่าขณะที่เราทำนาเกี่ยวข้าวและนวดข้าว เราใช้เท้าเหยียบย่ำข้าวจึงมีความจำเป็นที่จะต้องร่วมทำพิธีบูชาแม่พระโพสพเพื่อขอขมาจะได้เป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวให้มีแต่ความผาสุก
         งานด้านวัฒนธรรมและประเพณีเป็นเรื่องของจิตใจที่มีความละเอียดอ่อนมากดังจะเห็นเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับบุญกุ้มข้าวใหญ่ว่าการทำบุญด้วยข้าวจะได้บุญมหากุศลมาก เมื่อครั้งพุทธกาลมีเรื่องเล่าว่ามีพี่น้อง 2 คนเป็นชายช่วยกันทำนาเมื่อถึงช่วงข้าวเป็นน้ำนมน้องชายชวนพี่ทำข้าวมธุปายาสถวายพระภิกษุแต่พี่ชายตอบปฏิเสธไม่ทำจึงแบ่งนากันคนละส่วน พอน้องได้ส่วนของตนมาจึงทำทานถวาย 9ครั้งคือช่วงข้าวเป็นน้ำนมทำข้าวมธุปายาสคือยาคูถวายช่วงข้าวเม่าทำข้าวเม่าถวาย ช่วงเวลาเก็บเกี่ยว เวลาจักตอก มัด เวลามัดฟ่อนข้าวเวลากองในลาน เวลาทำลอมข้าว เวลาขึ้นยุ้งฉาง เวลาเก็บในยุ้งฉางแล้วจนต่อมาผู้เป็นน้องได้เกิดในชาติตระกูลเป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล  นามว่า อัญญาโกณทัญญะและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ก่อนสาวกทั้งปวงอีกทั้งยังได้เป็นปฐมสาวกที่ได้รับการยกย่องว่า รัตตัญญู คือผู้รู้ราตรีนาน ส่วนพี่ชายได้บังเกิดเป็นเพียง สุภัททปริพพาชกเท่านั้นเพราะทำทานน้อยกว่าน้องชาย ด้วยเหตุนี้ ชาวอีสานจึงนิยมทำทานด้วยการทานข้าวนั่นเอง การทำบุญกุ้มข้าวใหญ่นั้น บุญกุ้มข้าวเป็นงานบุญที่จัดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยว เป็นการนำข้าวมาโฮม(รวม)กันที่ลานกลางบ้าน เพื่อสู่ขวัญข้าวและทำบุญตักบาตรร่วมกัน ในทุกๆหากปีไหนที่ฝนตกต้องดี ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ กองข้าวก็จะสูงใหญ่เป็นพิเศษซึ่งจะทำกันในเดือนยี่ หรือเดือนที่ 1 คือเดือนมกราคมของทุกปีหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะขนเอามัดรวงข้าวที่เกี่ยวเสร็จไปกองรวมกันไว้ที่ลานเก็บข้าวด้วยมีความเชื่อว่าข้าวนั้นเป็นพืชเลี้ยงชีวิตที่มีเทพารักษาเทพองค์นั้นมีนามว่า "แม่โพสพ" ซึ่งเป็นขวัญข้าวที่เลี้ยงมนุษย์มา การทำบุญมีพระสวดมนต์เย็นฉันเช้าเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือก เมื่อพระฉันเช้าแล้วก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าวและผูกข้อต่อแขนกันในหมู่ชาวบ้านผู้ร่วมพิธีจุดมุ่งหมายของการทำบุญกุ้มข้าวใหญ่คือ เพื่อร่วมกันจัดหาทุนทรัพย์ให้แก่ทางวัดเพื่อเป็นกองทุนในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในการบริจาคคราวนี้ชาวบ้านจะไม่บริจาคเงินแต่จะบริจาคเป็นข้าวเปลือก เหตุผลเพราะชาวนาไม่มีเงิน
แต่มีข้าว อันเป็นผลผลิตจากน้ำพักน้ำแรงของตนเป็นประการที่หนึ่งประการที่สองก็เพื่อจะได้ทำบุญด้วยข้าวในยุ้งของตนเอง  
          ในการเตรียมทำบุญกุ้มข้าวใหญ่นั้น จะต้องจัดเตรียมสถานที่ทำบุญที่ลานนวดข้าวของตนการนำข้าวที่นวดแล้วมากองขึ้นให้สูงเรียกว่า “คูณลาน” จากนั้นนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์จัดน้ำอบน้ำหอมไว้ประพรมขึงด้ายสายสิญจน์รอบกองข้าว เมื่อพระภิกษุสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้วถวายภัตตาหารเพลแก่พระภิกษุสงฆ์จากนั้นนำข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงญาติพี่น้อง ผู้มาร่วมทำบุญ พระสงฆ์ฉันเสร็จก็จะประพรมน้ำพุทธมนต์ให้กองข้าว ให้เจ้าภาพและทุกคนที่มาในงาน เสร็จแล้วก็จะให้พรและกลับวัด เจ้าภาพก็จะนำน้ำพระพุทธมนต์ที่เหลือไปประพรมให้แก่วัว ควาย ตลอดจนเครื่องมือในการทำนาเพื่อความเป็นสิริมงคล           
        ในปัจจุบันการทำบุญกุ้มข้าวใหญ่หรือบุญคุณลานนั้น นับวันยิ่งจะเลือนหายไปเนื่องจากไม่ค่อยมีผู้สนใจประพฤติ ปฏิบัติกันเนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านประเพณีและวัฒนธรรมปัจจุบันในการทำนาของชาวนานั้น ชาวนาไม่มีลานนวดข้าวเหมือนเก่าก่อน เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จและมัดข้าวเป็นฟ่อนๆ แล้วจะขนมารวมกันไว้ ณที่ที่หนึ่งของนาโดยไม่มีลานนวดข้าว หลังจากนั้นก็ใช้เครื่องสีข้าวมาสีเมล็ดข้าวเปลือกออกจากฟางลงใส่ในกระสอบ และในปัจจุบันยิ่งมีการใช้รถไถนาเครื่องสีข้าว เป็นส่วนมากจึงทำให้ประเพณีบุญกุ้มข้าวใหญ่เริ่มเลือนหายไป แต่ก็ยังมีบางหมู่บ้านบางแห่งที่ยังรวมกันทำบุญโดยนำข้าวเปลือกมากองรวมกันเรียก "กุ้มข้าวใหญ่" ซึ่งจะเรียกว่าบุญกุ้มข้าวใหญ่แทนการทำบุญคูณลาน นับว่าเป็นการประยุกต์ใช้"ฮีตสิบสอง คองสิบสี่" ให้เหมาะกับยุคสมัยและประเพณีที่สืบทอดกันมา



ประเพณี "งานบุญข้าวจี่"
                                                                               







ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | ลงทะเบียน

รายละเอียดเครดิต

Powered by Discuz! X3

© 2001-2013 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้